fbpx

เกร็ดความรู้เรื่อง EQ

เกร็ดความรู้เรื่อง EQ

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรือ EQ นั้นแน่นอนว่าคนที่เล่นเครื่องเสียงหลายๆคนก็อาจจะคุ้นชินกับคำนี้ ซึ่งบางท่านที่เป็นมือใหม่ก็อาจจะยังไม่มีประสบการร์มากนักและในปัจจุบันการปรับแต่ง EQ นั้นได้พัฒนามาให้ง่ายมากกว่าเดิมเพื่อตอบสนองความสะดวก รวดเร็วทันใจของผู้ใช้งานนั้นเอง ส่วนสำหรับใครที่อยากหาความรู้เพิ่มเติมวันนี้เราจะมาบอกถึงสิ่งที่ควรรู้ก่อนปรับ EQ กันครับผม

เกร็ดความรู้เรื่อง EQ

1.อีควอไลเซอร์ คืออะไร

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรือ EQ คือ อุปกรณ์ในระบบเสียงซื่งมีหน้าที่ในการควบคุมและชดเชยย่านความถี่ของเสียง (frequency) ให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสมเพื่อให้ตรงตามความต้องการในการใช้งานในกิจกรรมต่างๆของผู้ควบคุมระบบเสียงและอีควอไลเซอร์ (Equalizer) นั้นไม่ใช่ว่าใครๆก็สามารถปรับแต่งได้เพราะในส่วนนี้บางทีต้องพึ่งความเข้าใจและประสบการณ์เนื่องด้วยสถานที่ในแต่ละกิจกรรมนั้นย่อมมีห้อง หรือ สถานที่ที่แตกต่างกันทำให้ค่าเสียงในการปรับแต่งแต่ละที่นั้นไม่เหมือนกันเพราะแค่ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมก็มีผลต่อความถี่เสียงแล้ว

2.องค์ประกอบพื้นฐานของอีควอไลเซอร์

2.1.Frequency 
ค่าความถี่ของสัญญาณเสียงในการปรับแต่ง ซึ่งความถี่ดังกล่าวนั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนจนกลายเป็นเสียงขึ้นมา โดยมีหน่วยวัดเป็นเฮิร์ตซ์ (HZ) ในการปรับความถี่จะเลือกปรับเป็นย่านความถี่ตามการใช้งาน เช่น ย่านความถี่เสียงกลาง (Midrange) เป็นย่านสำหรับเสียงพูด หรือ ย่านความถี่เสียงต่ำ (Low) เป็นย่านความถี่ต่ำสุด เป็นความถี่ระดับพื้นฐาน (Fundamental) ที่ใช้สำหรับควบคุมความแน่นของเสียงของเครื่องดนตรี
2.2.Gain
ค่าในการปรับระดับความดัง-เบาของเสียง ผ่านการเพิ่ม-ลดปริมาณเสียงในย่านความถี่ที่ต้องการ
2.3.Q 
ค่าที่ใช้สำหรับกำหนดความกว้างและความแคบของช่วงความถี่เสียง เป็นการปรับเพื่อสร้างสมดุลของความถี่เสียง เช่น กำหนดค่า Q ให้แคบเพื่อตัดเสียงในย่านเสียงที่ไม่ต้องการออก เป็นต้น

3.อีควอไลเซอร์ สำคัญอย่างไรต่อระบบเสียง

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) นั้นหากไม่มีการถูกควบคุมจะเกิดการตอบสนองความถี่ที่มากจนเกินไปจนอาจจทำให้เกิดอาการหอนของลำโพงได้ อีกทั้งยังขาดความสมดุลในการตอบสนองความถี่ของเสียงที่ใช้ในกิจกรรมมีผลกับความดังในแต่ละย่านที่ไม่สอดคล้องกันได้ ทั้งนี้ยังมีในเรื่องของความดัง-เบาของย่านความถี่ต่างๆให้กิจกรรมนั้นๆสมบูรณ์แบบในระบบเสียงได้อีกด้วย

4.ประเภทของอีควอไลเซอร์

4.1. Parametric Equalizer
Parametric Equalizer เป็น EQ ที่ผู้ใช้งานสามารถปรับย่านความถี่เสียงได้อย่างอิสระในแต่ละ channel แต่มาในรูปแบบ Analog และ Software โดย EQ ประเภทนี้จะเหมาะกับการปรับแต่งย่านความถี่เสียงแบบละเอียด ทั้งเสียงร้องและเสียงดนตรี

4.2.Graphic Equalizer
Graphic Equalizer เป็น EQ ที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบเสียงใน PA ซะส่วนใหญ่เพื่อให้เสียงนั้นเหมาะสมและสมจริงกับสถานที่นั้นๆ Graphic Equalizer นั้นจะแตกต่างกับ Parametric Equalizer ตรงที่ไม่สามารถปรับความถี่เสียงได้อย่างอิสระ ปรับแต่งได้เพียงค่า Gain และ Q ตามที่โรงงานกำหนดเท่านั้น

อีควอไลเซอร์ (Equalizer) หรือ EQ ในปัจจุบันนั้นมีการพัฒนามากยิ่งขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้ที่มือใหม่สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องใช้ความเข้าใจ หรือ ประสบการณ์มากนักจากระบบ Analog สู่ระบบ Digital ที่ทำง่ายๆเพียงปลายนิ้ว คือ Digital Signal Processor (DSP) ซึ่งระบบนี้นั้นสามารถใช้งานได้ทั้งแบบ Parametric Equalizer และ Graphic Equalizer และแถมยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เช่น ควบคุมระดับสัญญาณเสียง (Compressor/Expander) หรือ ปรับแยกความถี่สัญญาณเสียง (Cross over) เป็นต้น ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนของอีควอไลเซอร์เช่นกันเพราะ Digital Signal Processor (DSP) นั้นจะมีการช่วยให้ระบบการทำงานสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นและทำให้ประหยัดเวลาในการตั้งต่าเสียงในย่านความถี่ต่างๆอีกทั้งยังประหยัดเนื้อที่ในการจัดวางจึงทำให้เป็นที่นิยมสำหรับลำโพง หรือ เครื่องเสียงในปัจจุบันมากยิ่งขึ้นแต่ถึงกระนั้นแล้วบางงานก็จำเป็นต้องใช้การควบคุมย่านความถี่แบบ Parametric Equalizer และ Graphic Equalizer มากกว่า อาทิเช่น งานคอนเสิร์ต หรือ งานแสดงดนตรี เพราะต้องมีการปรับแต่งระบบเสียงที่ละเอียดมากกว่าปกติจึงทำให้งานประเภทนี้ส่วนใหญ่จะต้องมีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องระบบเสียงโดยตรงมาเป็นผู้ควบคุม

ในปัจจุบันลำโพง Klipsch รุ่นใหม่ๆที่ทำออกมานั้นจะซัพพอร์ตในเรื่องของการปรับแต่ง EQ ได้เองทั้งผ่าน App Klipsch Connect หรือ ที่ตัวลำโพงเลยก็มีเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องของเสียงที่รสนิยมผู้ฟังนั้นจะแตกต่างกัน แต่ Klipsch ได้พัฒนาให้ง่ายที่สุดในการฟังเสียงที่ดีที่สุดในแบบของคุณนั้นเอง ส่วนจะมีรุ่นไหนที่รองรับบ้างสามารถดูได้ที่บทความ : https://sound-republic.com/articles/reviews/klipschconnectapp/

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *