การติดตั้งแบบแขวนของลำโพง Line Array
ลำโพงแบบบ Line Array เป็นอีกหนึ่งรูปแบบของลำโพงที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน หลายๆคนอาจจะเคยเห็นในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การแสดงคอนเสิร์ต งานกิจกรรมกลางแจ้ง หรือแม้แต่ในผับต่างๆ ลำโพงแบบ Line Array ได้ถูกเข้ามาแทนที่ลำโพงแบบ พอยท์ซอซ (Point Source) เพราะเป็นลำโพงที่ไม่สามารถตอบโจทย์กับงานหรือ Life Style ในปัจจุบันที่ต้องการความรวดเร็วความกระทัดรัด การ Set Up ที่มีความรวดเร็วแม่นยำในการกระจายเสียง ทำให้ปัจจุบันใช้งานเกี่ยวกับระบบเสียงต่างหันมาใช้ลำโพงแบบ Line Array ซึ่งให้ภาพลักษณ์ที่ดูทันสมัยมากกว่า
สำหรับโพง Line Array อาจแยกได้เป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ
ลำโพง Line Array แบบ Passive คือไม่มีแอมป์ขยายในตัว ต้องใช้เครื่องขยายเสียง
จุดเด่น
- สามารถเลือกแอมป์ขยายเสียงที่เราชื่นชอบและคิดว่าเข้ากับลำโพงได้เพื่อมาขับลำโพง Line Array แบบ Passive wfh
- ราคาต่อใบมีราคาประหยัดกว่าถูกกว่า Active Line Array ใน Spec ที่ใกล้กัน
- ต่อเฉพาะสายลำโพง ไม่ต้องต่อหรือเดินสายไฟและสายสัญญาณเสียงมาที่ตู้ลำโพง
ลำโพง Line Array แบบ Active คือเป็นลำโพงที่มีแอมป์ขยายในตัว ไม่ต้องจำเป็นต้องใช้เครื่องขยายเสียงเพิ่ม
จุดเด่น
- เป็นลำโพงที่ให้ความสะดวกและรวดเร็วในการติดตั้งอย่างยิ่ง ลดภาระในการขนย้ายอุปกรณ์เสียงและเครื่องขยายเสียงจำนวนมากมาย
- ลดจำนวนของสายสัญญาณในการต่อพ่วง ลดระยะเวลาในการติดตั้ง ทำให้ประหยัดเวลา
- ง่ายต่อการ Set Up และง่ายต่อการ Control
การแขวนแบบ Straight การแขวนแบบ Straight หรือการแขวนแบบเส้นตรง การแขวนลักษณะนี้ เป็นการแขวนที่ลำโพงแต่ละใบ ไม่มีการปรับมุมเอียงเลย ฉะนั้นลำโพงแต่ละใบ จะหันหน้าตรงไปทิศทางเดียวกัน การแขวนแบบนี้ทำให้ได้ Bandwidth ความถี่สูง จะค่อนข้างแคบและแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันในเรื่องของความถี่ที่ได้ยิน การแขวนแบบนี้ อาจจะเกิด Distortion ได้ชั่วขณะ เราจึงไม่ค่อยเห็นการแขวนแบบนี้สักเท่าไหร่
การแขวนแบบ Curved
การแขวนลำโพงไลน์ Line Array แบบนี้ หากสังเกตดูการแขวนแบบนี้ จะมีลักษณะคล้ายตัว C คือ มีการปรับมุมการแขวนของแต่ละใบเท่า ๆ กัน และการแขวนแบบนี้ อาจจะต้องกำหนดมุมตั้งแต่การแขวน Fly Bar ของ Line Array ซึ่งการแขวนแบบ Curved จะได้การกระจายความถี่ในแต่ละพื้นที่ ที่ครอบคลุม ความถี่มีความใกล้เคียงกัน เกิด Distortion น้อยและสามารถคำนวณมุมกระจายเสียงด้าน Vertical ได้
การแขวนแบบ J-Array
สำหรับการแขวนในลักษณะนี้ คล้ายกับตัว J โดยที่ชุดลำโพงด้านบนจะไม่มีการปรับองศาในการแขวน แต่ปรับตู้ลำโพงแต่ละใบที่ด้านล่างทำให้การแขวนลำโพง Line Array แบบนี้ มีการกระจายเสียงไม่แน่นอน ความสามารถในการกระจายเสียงถือว่าไม่เลว แต่ถ้ากระจายเสียงออกไปในระยะไกลอาจส่งผลทำให้เสียงเพี้ยนได้
การแขวนแบบ Spiral
การแขวนลำโพง Line Array แบบ Spiral เป็นการแขวนที่ค่อนข้างได้รับความนิยม การแขวนลักษณะนี้ จะไล่องศาการแขวนมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ลำโพงใบแรก จนใบสุดท้าย ซึ่งแต่ละใบอาจจะมีองศาการแขวนที่แตกต่างกัน ข้อดีคือความถี่ที่ส่งออกมามีความสม่ำเสมอในพื้นที่ใช้งาน หรือหากเกิดการเปลี่ยนแปลงความถี่ จะมีความ Smooth ไม่โดดมากเกินไป
และสำหรับทั้ง 4 แบบของการแขวนลำโพงแบบ Line Array จะเห็นได้ว่าการแขวนแบบ Spiral จะเป็นที่นิยมมากที่สุด และไม่ใช่ว่าอีกทั้ง3แบบจะไม่ดีหรือเป็นที่นิยมแต่สำหรับลำโพง Line Array นั้นอาจจะต้องเลือกการแขวนเพื่อการใช้งานและให้ความสำคัญกับมุมกระจายเสียงเพื่อผู้ที่รับฟังจะได้ฟังเสียงที่ดี และรับรู้ได้ถึงคุณภาพของลำโพงครับ
ใส่ความเห็น