ตู้ลำโพง Active หรือ Passive จะใช้แบบไหนดี
ตู้ลำโพงที่เราเห็นๆกันในทุกวันนี้ก็มีอยู่หลากหลายแบบหลายประเภท แต่ละตัวก็จะมีความเหมือนกันหรือแตกต่างกันอยู่จุดหนึ่งคือลำโพงตัวนั้นจะเป็นแบบมีภาคขยายในตัวหรือที่เราเรียกกันว่า ตู้ลำโพง Active หรือว่าเป็นลำโพงที่ไม่มีภาคขยายในตัวเลย หรือที่เราเรียกๆกันว่าลำโพงแบบ Passive ประเภทของลำโพงทั้ง 2 ตัวนี้ถูกแบ่งไว้อย่างชัดเจน ถ้าจะถามว่าแตกต่างกันอย่างไร ก็คงตอบได้ไม่ยากเลยว่าตัวหนึ่งมีภาคขยายในตัวอีกตัวไม่มีภาคขยายในตัว ต้องหาแอมป์มาต่อเพิ่ม แต่ว่าตัวไหนละที่ดีแล้วเหมาะกับเรา อย่ารอช้าไปดูกันเลย
ตู้ลำโพง Active
ตู้ลำโพงแบบ Active หรือที่เรียกกันว่า ลำโพงที่มีภาคขยายในตัว(มีแอมป์ในตัว) เป็นลำโพงที่ใช้งานง่ายไม่ต้องหาพวกแอมป์ต่างๆมาใส่ ลำโพงประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีพวกฟีดเจอร์ต่าๆงเข้ามาเสริมด้วยทั้งสามารถปรับค่า EQ ได้ในตัว สามารถเลือก DSP ได้ เสียบไมค์ได้ในตัว หรือบางตัวอาจจะมีพวกรองรับการต่อ BT ,SD card หรือ USB ได้อีกด้วย เรียกได้เลยว่าตัวเดียวก็สามารถใช้งานได้เลย
ข้อดีของเจ้าลำโพงแบบ Active
-ด้วยเป็นลำโพงที่ถูกตั้งค่าต่างๆมาจากโรงงานแล้วเลยไม่ต้องจูนอะไรให้มากมายแกะออกม
ใช้งานได้เลย เว้นแต่ถ้าบางท่านอยากปรับเสียงก็สามารถใช้ มิกเซอร์มาปรับได้อีก
-ใช้งานได้ง่าย ไม่ต้องทำอะไรมาก สำหรับมือใหม่ที่เล่นเครื่องเสียงก็ใช้งานได้ง่ายๆเลยไม
ต้องหาอะไรไม่ต่อให้วุ่นวาย ขนย้ายเชื่อมต่อได้ง่ายไม่ต้องขนอะไรไปให้พะรุงพะรัง ต่อนู่นนี่ให้
วุ่นวาย
ข้อเสียของลำโพงแบบ Active
-ด้วยลำโพงประเภท Active มีแอมป์หรือภาคขยายในตัวทำให้มีราคาที่สูงกว่าตู้แบบ
Passive ทั้งนี้ราคาก็ขึ้นอยู่กับคุณภาพของลำโพงด้วยนะครับ
-เรื่องของคุณภาพเสียงที่ถูกตั้งค่ามาจากโรงงานอยู่แล้วทำให้เสียงที่ถ่ายทอดมาไม่สามาร
ปรับแต่งได้แบบลำโพง Passive ที่ยืดหยุ่นมากว่าในการใช้งาน
ลำโพง Active เหมาะกับใคร
-ลำโพงตัวนี้เหมาะกับทั้งมือใหม่ที่จะเข้ามาลองเล่นหรือเริ่มใช้งานเครื่องเสียงกลางแจ้งและทั้ง
มืออาชีพที่สามารถนำไปปรับแต่งใช้ในงานระบบของท่านได้ ผู้ที่ไม่ต้องการความยุ่งยากใน
การใช้งาน ในงานที่บางที่อาจจะต้องใช้ความคล่องตัว ความสะดวกในการเคลื่อนย้าย ติดตั้ง
ตู้ลำโพงแบบ Passive
ตู้ลำโพงแบบ Passive หรือตู้ที่ไม่มีภาคขยายในตัว
เป็นลำโพงที่เน้นในเรื่องของการใช้งานที่ต้องหาพวกอุปกรณ์ต่างๆมาช่วยเพื่อเสริมแต่งให้เสียงออกมา
ลำโพงประเภทนี้ จึงไม่มีพวกฟีดเจอร์ต่างๆมาให้แต่ก็จะแลกมาด้วยกับคุณภาพเสียงที่ดีกว่า
หลากหลายกว่า ใช้งานได้เยอะกว่าด้วย
ข้อดีของเจ้าลำโพงแบบ
Passive
-ตัวลำโพงแบบ
Passive นั้นหากเรามีความสามารถในการจับคู่ (Matching)
จะให้เสียงที่มีคุณภาพ มีรายละเอียดที่สูง หรือเรียกอีกอย่างเลยว่าสามารถเค้นประสิทธิภาพของทั้งชุดอุปกรณ์ออกมาได้อย่างเต็มประสิทธิภาพเลย
ข้อเสียของเจ้าลำโพงแบบ
Passive
-หากไม่มีประสบการณ์ในการจับคู่ (Matching) ไปจับกับเครื่องขยายเสียง และตู้ลำโพง
ที่ไม่เหมาะสม ไม่เข้ากับ ก็อาจจะได้เสียงที่ด้อยคุณภาพ ไม่เต็มประสิทธิภาพ
ลำโพงแบบ Passive จึงไม่เหมาะกับผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ควรจะเป็นผู้มีประสบการณ์ใช้งานมากกว่า
-แม้ว่าตัวตู้ลำโพงจะมีราคาถูกกว่าลำโพงแบบ Active ก็ตาม
แต่ถ้าพูดถึงในเรื่องของงบประมาณในการจัดชุดทั้งระบบก็ต้องใช้งบประมาณเยอะกว่าแบบ Active
พอสมควร ทั้งอุปกรณ์ที่ใช้ในการขับเสียง แต่งเสียงต่างๆ
อีกทั้งยังไม่คล่องตัวในการติดตั้งระบบอีกด้วย
ลำโพง Passive เหมาะกับใคร
ลำโพงแบบ Passive เหมาะกับผู้ที่มีประสบการณ์ในการจับคู่ (Matching) เป็นมืออาชีพที่มีความรู้ในด้านเครื่องเสียงกลางแจ้ง ในงานที่ต้องการรายละเอียดที่สูง มีงบประมาณพอสมควรในการจัดชุดลำโพง หรืออัปเกรดชุดลำโพงเน้นการใช้งานในระยะยาว
สรุปควรจะเลือกใช้แบบไหนดี
ลำโพงทั้งแบบ Active และ Passive ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียด้วยกันทั้งคู่ก็ต้องมาดูในเรื่องของการใช้งานของท่านแล้วว่าท่านจะใช้งานแบบไหน หากท่านเป็นผู้ที่ไม่ค่อยมีประสบการณ์หรือพึ่งเริ่มจะศึกษาการใช้งานเครื่องเสียงกลางแจ้ง งบประมาณมีจำกัด และต้องการความคล่องตัวในการติดตั้ง ก็ต้องบอกเลยว่าลำโพงแบบ Active ก็เป็นคำตอบที่ดีเหมือนกันแต่ถ้าท่านเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในการจับคู่ (Matching) อยู่พอประมาณมีงบประมาณในการจัดการอยู่ในระดับหนึ่ง ต้องการใช้งานในระดับมืออาชีพ ลำโพงแบบ Passive ก็เหมาะสำหรับท่านเลยละครับ แต่ไม่ใช่ว่าจะแบ่งเป็นแบบชัดเจนแบบนี้เสมอไปนะครับ บางท่านที่มีประสบการณ์อาจจะนำลำโพง แบบ Active เข้าไปใช้งานร่วมกันในการจัดระบบร่วมกับลำโพงแบบ Passive ก็ยังได้ ทั้งนี้การใช้งานก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบแต่ละท่านด้วยนะครับว่าจะจัดแบบไหน ใช้แบบไหน
แต่ว่าหากท่านอยากจะลองใช้งานลำโพงทั้ง 2 ประเภทนี้แต่ไม่รู้ว่าจะไปลองที่ไหนยี่ห้ออะไรก็สามารถเข้ามาทดลองฟังเสียงได้ที่ Showroom Soundrepublic ได้เลยนะครับผม ที่นี่เรามีทีมงานที่แนะนำท่านได้ทั้งในเรื่องขอจะนำไปใช้งานอะไรจนไปถึงการจัดชุดในงานระบบของท่านเลยทีเดียว
Leave a Reply