fbpx

Power Amplifier มี Class ไหนบ้างและแต่ละ Class มีความต่างกันอย่างไร?

Power Amplifier มี Class ไหนบ้างและแต่ละ Class มีความต่างกันอย่างไร?

ในวงการของนักเล่นเครื่องเสียง PA คงเป็นที่รู้จักอยู่แล้วนะครับสำหรับ Class ต่างๆ ใน Power Amplifier เป็นอย่างไรและเหมาะสมสำหรับการใช้งานแบบไหน แต่ในเมื่อมีคนรู้จักก็ต้องมีอีกหลายๆ คนที่ไม่ทราบ และยิ่งโดยเฉพาะนักเล่นเครื่องเสียงมือใหม่และผู้ที่กำลังจะเข้ามาสู่วงการของเครื่องเสียง สำหรับบทความในวันนี้ผมจะมาอธิบาย Class ของ Amplifier แบบต่างๆ ให้คุณได้รู้จักสำหรับ Amplifier ในปัจจุบันที่ใช้นั้นก็มีหลายแบบและแต่ละแบบนั้นต่างกันอย่างไร โดยเราจะเริ่มกันด้วย

Class A

                สำหรับ Class A นั้นเป็น Class ที่เน้นไปในเรื่องของคุณภาพของเสียง ที่มีค่าความเพี้ยนที่ต่ำและเสียงรบกวนที่น้อย แต่ก็ต้องแลกมาด้วยกับเรื่องของการใช้พลังงานความร้อนที่ค่อนข้างสูงเพราะมีการป้อนกระแสไฟให้ทรานซิสเตอร์อยู่ตลอดเวลา และมีกำลังขับที่ค่อนข้างน้อย จึงเหมาะกับงานที่เน้นฟังพวกรายละเอียดของเสียงเพราะจะมีเสียงกลาง-แหลมที่ชัดเจน ไม่เน้นที่เสียงเบสดังและหนัก

Class B

                จากปัญหาของ Class A ที่เราได้บอกไปว่ามีปัญหาทางด้านความร้อนมาใน Class นี้ จึงได้แก้ปัญหานี้โดยการใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัวทำงานกันแบบผลักและดันคือช่วยกันทำงานคนละครึ่งทางและจะไม่มีการป้อนกระแสไฟล่วงหน้าทำให้เครื่องไม่ร้อนจนเกินไป แต่ในเรื่องของคุณภาพเสียงกลับต่ำและแย่กว่าแบบแรก มีความเพี้ยนสูง โดยในปัจจุบัน Class B นั้นก็ไม่เป็นที่นิยมและอาจถูกพบไม่บ่อยในท้องตลาด

Class AB

            Amplifier Class AB เป็นลูกผสมระหว่าง Class A และ B ที่ได้จับนำเอาข้อดีทั้ง 2 Class เข้ามาไว้ด้วยกันโดยใช้ทรานซิสเตอร์ 2 ตัว จัดการวงจรโดยผลักดันช่วยทำงานคนละครึ่งแบบ Class B แต่ป้อนกระแสไฟปริมาณต่ำเอาไว้ล่วงหน้าตลอดเวลาแต่จะสูงไม่เท่า Class A ทำให้ Amplifier Class นี้มีคุณภาพเสียงที่ค่อนข้างดีแต่อาจจะไม่เท่า Class A แต่กลับได้เปรียบในเรื่องของกำลังขับที่มากกว่า และความร้อนที่น้อยกว่ามาก Amplifier Class นี้จึงเหมาะกับทั้งนำไปขับทั้งลำโพงกลางแหลมและ Subwoofer ซึ่งในปัจจุบันนิยมใน Amplifier Class นี้กันอย่างแพร่หลาย

Class D             Amplifier Class D นั้นโดดเด่นในเรื่องของการช่วยประสิทธิภาพในการขยาย เนื่องจากระบบการทำงานที่ไม่ทำงานอยู่ตลอดเวลา เพราะความถี่สูงถูกตัดออกไปในช่วงระหว่างภาคจ่ายไฟบวกและลบ อุปกรณ์จึงไม่ได้ทำงานอยู่ตลอดเวลา ความร้อนจึงต่ำ เรื่องของประสิทธิภาพก็สูงกว่า Class AB แต่ก็แลกมากับข้อจำกัดเรื่องการตอบสนองความถี่เสียงที่อาจจะไม่เหมาะกับการขับลำโพงกลาง-แหลม แต่เจ้าตัวนี้จะเหมาะกับพวกลำโพง Subwoofer ที่เน้นเสียงเบสที่หนักและแน่น

Class T

                ในส่วนของ ClassT นั้นถูกออกแบบให้มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นไปอีก โดยใช้ตัวประมวลผลสัญญาณดิจิตอลและปรับปรุงการแปลงสัญญาณจากอนาล็อกเป็นดิจิตอล ทำให้วงจรสามารถทำงานได้เต็มช่องสัญญาณเสียงส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการให้เสียงที่ดีกว่า และผิดเพี้ยนหน่อยกว่า Class AB และสำหรับ Class T นั้นเหมาะกับการขับทั้ง Subwoofer และลำโพงกลาง-แหลมด้วย ซึ่งจะให้ประสิทธิภาพที่สูงกว่า Class AB แต่เทียบเท่า Class D

Class G

            Class G เป็น Class ที่มีต้นแบบและพัฒนาขึ้นมาจาก Class AB โดยถูกพัฒนามาให้ลดการสูญเสียแรงดันของทรานซิสเตอร์ ซึ่งการทำงานของ Class G จะใช้แหล่งจ่ายไฟหลายๆ แหล่งและเมื่อสัญญาณที่เข้ามาแรงระบบก็จะเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้สูงทันที แต่เมื่อสัญญาณที่เข้ามามีสัญญาณต่ำระบบก็จะเปลี่ยนแรงดันไฟฟ้าให้ลงเช่นกัน ซึ่งการเปลี่ยนไปมาแบบนี้ก็จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นในระบบ ประสิทธิภาพก็จะเท่ากับ Class D และ Class T แต่จะมีความสลับซับซ้อนมากกว่า

Class H

                โดย Class H นั้นจะเป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพขึ้นจาก Class G โดยจะเปลี่ยนจากการที่ให้สัญญาณขึ้นลงตลอดเวลาทำให้เกิดความร้อนง่าย เป็นการเปลี่ยนแปลงแรงดันในระบบในกรณีที่สัญญาณที่รับเข้ามามีระดับสูงเกินเกณฑ์ เพื่อลดความร้อนลง ตัวนี้จึงเหมาะกับการ ขับ Subwoofer ที่มีความถี่ต่ำ

สำหรับ Power Amplifier ในแต่ละ Class ที่ผมได้เขียนอธิบายมาในเบื้องต้นนั้นต่างก็มีความแตกต่างและข้อดีข้อเสียของแต่ละ Class ซึ่งสำหรับนักเล่นเครื่องเสียงมือใหม่อาจจะต้องศึกษาปัจจัยหลายๆ อย่างเพิ่มขึ้นด้วยอีกทั้งลำโพงที่คุณเลือกที่จะใช้งานนั้นเป็นการใช้งานในรูปแบบไหนและ Power Amplifier Class ไหนที่เหมาะกับการนำไปใช้งานของคุณ เพราะการเลือกให้ถูกต้องกับการใช้งานย่อมส่งผลให้การใช้งานลำโพงของคุณนั้นเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อถูกใช้งาน

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *