“ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber คืออะไร
“ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber
“ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber คือ ห้องที่ปิดทึบและติดตั้งอุปกรณ์ดูดซับคลื่นเสียงสะท้อนจากผนังในทุกๆด้านของห้องรวมไปถึงการป้องกันไม่ให้คลื่นเสียงรบกวนจากด้านนอกห้องแทรกซึมเข้ามาในห้องอีกด้วย แล้วหลายๆคนก็อาจจะสงสัยว่าสร้างห้องนี้มาเพื่ออะไร ซึ่งห้องนี้นั้นสร้างขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแล็ปในการตรวจวัดการทำงานและเสียงของลำโพงโดยที่ไม่ให้มีเสียงสะท้อนของผนังห้องเข้ามาผสมผสาน ซึ่งมีชื่อในการเรียกค่าตรวจวัดค่านี้ว่า “Free Field Conditions” ทำให้ผู้ที่ออกแบบและผลิตลำโพงนั้นสามารถวิเคราะห์การทำงานของไดรเวอร์ลำโพงได้อย่างแม่นยำ
Free Field Conditions
“ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber นั้นจะมีสภาพเป็น “Free Field Conditions” พูดง่ายๆก็คือการเสียงที่ไม่ถูกรบกวนโดยเสียงภายในและภายนอกซึ่งจะใช้ไว้สำหรับการทดสอบและวัดค่าลำโพงก่อนจะออกจำหน่ายสู่ท้องตลาดเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับเสียงที่ Flat ที่สุด องค์ประกอบในการทดสอบนั้นไม่เพียงแต่ด้านใดด้านหนึ่งแต่ต้องตรวจสอบทุกย่านความถี่ของเสียงว่าเสียงที่ออกจากลำโพงนั้นสามารถไปได้ไกลมากน้อยแค่ไหน ในกรณีลำโพงตัวเดียวกันแต่ตั้งอยู่ในห้องคนละห้องก็สามารถทำให้เสียงที่ได้นั้นแตกต่างกัน บางครั้งเบสหนา บางครั้งเบสหาย บางครั้งเสียงแหลมมาก ซึ่งก็สามารถเกิดขึ้นได้จากผลกระทบที่มาของ Room Acoustic และ Room Mode ของแต่ละห้องเข้ามามีส่วน ดังนั้น “ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถวัดค่าเสียงจริงๆของลำโพงตัวนั้นและได้เห็นศักยภาพของลำโพงตัวนั้นจริงๆ
เมื่อ “ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber นั้นในความเป็นจริงอาจจะไม่สามารถทำได้ง่ายๆในคนทั่วไป ดังนั้นกราฟที่ออกมาจากโรงงานและได้ผ่านการวัดค่าในย่านเสียงต่างๆจึงเป็นมาตรฐานที่บริษัทการันตีเอาไว้ให้ในลำโพง Hi-End ล้วนต่างผ่านการเทสในห้องเหล่านี้ทั้งนั้น ในการฟังลำโพงนั้นเราไม่ได้วัดการเสียงดีของลำโพงตัวนั้นๆจากกราฟ เราวัดผลลัพธ์จากสิ่งที่เราได้ยินผ่านหู แต่กราฟต่างๆที่ทางบริษัทการันตีออกมานั้นเพื่อวัดว่าลำโพงตัวนั้นๆจะสามารถแสดงศักยภาพได้เต็มที่แล้วหรือไม่เท่านั้น ดังนั้นการวัดค่าลำโพงใน “ห้องไร้เสียงสะท้อน” หรือ Anechoic Chamber จึงทำให้ได้ค่าที่เที่ยงตรง แม่นยำ และได้กราฟที่อ้างอิงได้ โดยปราศจากการบิดเบือนของห้อง
ใส่ความเห็น