fbpx

รู้หรือไม่การจัดงานกลางแจ้ง ต้องขออนุญาตจากที่ไหน ?

รู้หรือไม่การจัดงานกลางแจ้ง ต้องขออนุญาตจากที่ไหน ?

การจัดกิจกรรมกลางแจ้งหรือที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เสียงในงานต่างๆ หรือ กิจกรรมประชาสัมพันธ์สินค้า หรือ การประกาศเสียงตามรถประชาสัมพันธ์ จะต้องมีการขออนุญาตจากหน่วยราชการทุกครั้ง  และจะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการจัดกิจกรรมในแต่ละประเภท

พระราชบัญญัติควบคุมเสียงการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง พ.ศ. 2493 ว่าด้วยเรื่องการขออนุญาตใช้เสียง

การควบคุมการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง หมายถึง    การที่เราจะโฆษณาสินค้าหรือกิจการในร้านของ เรา โดยมีการประกาศเสียงตามรถประชาสัมพันธ์ หรือ โฆษณาอยู่ประจำที่ หรือ ร้านแห่งนั้นงานที่จะโฆษณา ใช้เสียงจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท

กิจการประเภทที่ 1 คือ การโฆษณาในกิจการที่ไม่เป็นไปในทำนองการค้า ขอใบอนุญาตได้คราวละไม่ เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียม ฉบับละ 10 บาท กิจการประเภทนี้ก็จะมี งานขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญบ้าน งาน ไหว้ครู งานมหรสพต่างๆ

กิจการประเภทที่ 2 คือ การโฆษณาที่เป็นไปในทำนองการค้า แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ    ก. การโฆษณาเคลื่อนที่โดยใช้รถประชาสัมพันธ์วิ่งตามเส้นทางต่างๆ ภายในเขตเทศบาล สามารถขออนุญาตได้คราวละไม่เกิน 5 วัน ค่าธรรมเนียมโฆษณาเคลื่อนที่ฉบับละ 60 บาท    ข. คือ การโฆษณาประจำที่โดยประชาสัมพันธ์ ณ ร้านหรือกิจการนั้น ๆ สามารถขออนุญาตได้คราวละไม่เกิน 15 วัน ค่าธรรมเนียมโฆษณาประจำที่ฉบับละ 75 บาท

ห้ามอนุญาตและห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ดังต่อไปนี้   

ก. โรงพยาบาล   

ข. วัด หรือสถานที่บำเพ็ญศาสนกิจ และ   

ค. ทางแยกที่มีการสัญจรไปมาคับคั่งอยู่เป็นปกติ

ห้ามใช้เสียงโฆษณาในระยะใกล้กว่า 100 เมตร จากบริเวณสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ดังต่อไปนี้   

ก. โรงเรียนระหว่างทำการสอน   

ข. ศาลสถิตยุติธรรมในระหว่างเวลาพิจารณา

การปฏิบัติภายหลังที่ได้รับอนุญาต เมื่อได้รับอนุญาตให้ทำการโฆษณาแล้ว ให้ผู้ได้รับอนุญาตนำใบอนุญาตนั้นไปแสดงต่อนายตำรวจชั้นสัญญาบัตร ดังต่อไปนี้   

ก. โฆษณาประจำที่ ให้แสดงต่อสถานีตำรวจเจ้าของท้องที่นั้น เมื่อนายตำรวจซึ่งเป็นหัวหน้าในสถานีตำรวจนั้น หรือผู้รักษาการแทน ได้ลงนามรับทราบในใบอนุญาตนั้นแล้วจึงทำการโฆษณาได้

ขั้นตอนการให้บริการ  

1. ผู้ขออนุญาตยื่นคำขออนุญาตทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ ฆ.ษ.1)  

2. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหลักฐาน  

3. เจ้าพนักงานท้องถิ่นผู้มีอำนาจลงนามอนุญาตให้ทำการโฆษณาโดยใช้เครื่องขยายเสียง (แบบ ฆ.ษ.2)

เอกสารประกอบการพิจารณา  

 1. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ขออนุญาตและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน    

2. ใบอนุญาตให้มีเพื่อใช้ซึ่งเครื่องขยายเสียงและไมโครโฟน (ถ้ามี)    

3. รายละเอียดของเครื่องขยายเสียงที่จะใช้ เช่น กำลังไฟฟ้าที่ใช้กำลังขยายเสียง  

4. แผนที่แสดงที่ตั้งใช้เครื่องขยายเสียง  

ดังนั้นหากเราต้องการที่จะใช้เครื่องเสียงกลางแจ้งไม่ว่าจะเป็นการจัดงาน   การประชาสัมพันธ์ หรือการโฆษณาต่างๆ  จะต้องทำและขออนุญาต ในทุกๆครั้ง เพื่อที่จะได้จัดงานและจัดกิจกรรมได้อย่างถูกหมาย

ขอขอบคุณข้อมูลดีๆจาก  CR.  องค์การบริหารส่วนตำบล บางเคียน

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *