fbpx

ลำโพงมีกี่ประเภท แต่ละประเภททำหน้าที่อะไรกันบ้าง

ลำโพงมีกี่ประเภท แต่ละประเภททำหน้าที่อะไรกันบ้าง

ลำโพงหรือดอกลำโพง ( loudspeaker, speaker) ส่วนใหญ่จะใช้เรียกรวมไปถึงดอกลำโพงหรือตัวขับ(driver) ซึ่งลำโพงจัดเป็นตัวแปลงขั้วกระแสไฟฟ้า จะเกิดเสียงได้ก็ต่อเมื่อ มีการป้อนสัญญาณไฟฟ้าให้กับขดลวด หรือมีการนำลำโพงไปต่อกับเครื่องขยายสัญญาณเสียง จึงทำให้เกิดการส่งสัญญาณของเสียงออกมาที่ลำโพง จนเกิดเป็นคลื่นเสียงขึ้นมา เรียกได้ว่าลำโพงเป็นส่วนสำคัญที่สุดของเครื่องเสียงเลยก็ว่าได้ เพราะหน้าที่สำคัญสุดของลำโพงคือ เปลี่ยนสัญญาณทางไฟฟ้าที่ได้มาจากเครื่องขยายเป็นสัญญาณเสียงและขับออกมาให้เราได้ยินกันนั้นเอง

แน่นอนเลยนะครับว่าลำโพงที่ดีจะต้องมีการส่งเสียงที่มีความแม่นยำและไม่ผิดเพี้ยน จะต้องให้เสียงที่เหมือนกับต้นฉบับเดิมให้มากที่สุด โดยจะต้องมีความผิดเพี้ยนของเสียงให้น้อยที่สุด เสียงจะต้องเป็นคลื่นตามยาว เสียงแหลมและทุ้มขึ้นอยู่กับความถี่ตรงนี้จะขึ้นอยู่กับความเร็วในการสั่นสะเทือนของวัตถุ ส่วนเสียงดังหรือเบาขึ้นอยู่กับขนาดamplitude ยิ่ง amplitude  มีค่ามาก ความเข้มหรือความดังของเสียงก็ยิ่งเพิ่มขึ้น เอาล่ะครับได้เวลาที่เรา SoundRepublic.com จะพาท่านไปรู้จักและทราบกันแล้วละว่าประเภทของลำโพงหรือดอกลำโพงมีกี่ประเภทและทำหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง ว่าแล้วอย่ารอช้าไปดูกันเลย

ประเภทของลำโพงหรือดอกลำโพง หลายคนคงสงสัยกันนะครับว่าลำโพงหรือดอกลำโพงมีกี่ประเภท ทำหน้าที่และให้ประสิทธิภาพที่แตกต่างกันอย่างไร โดยเราจะพาไปเริ่มดูจากอันแรกกันเลยครับนั้น ได้แก่

1.Full-range drivers

ไดรฟ์เวอร์ลำโพงแบบ full-range ถูกกำหนดให้เป็นไดรฟ์เวอร์ที่ทำช่วงความถี่เสียงได้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะ ลำโพง Full-range จะเป็นดอกลำโพงเดียวที่สามารถให้เสียงได้ครบทุกช่วงเสียง ระบบควบคุมส่วนใหญ่จะเป็นแบบเดี่ยว เช่น วิทยุหรือลำโพงคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่จะสามารถทำช่วงเสียงออกมาได้ทั้งหมด

-FULL RANGE DRIVERS เป็นลำโพงที่มีเสียงย่านความถี่ครบทั้ง สูง – กลาง – ต่ำ ในดอกเดียวกัน

2.Subwoofer

ซับวูฟเฟอร์ (หรือซับ) เป็นวูฟเฟอร์ ซึ่งทำหน้าที่ในการทำเสียงความถี่ต่ำเรียกว่าเบส ช่วงความถี่ทั่วไปสำหรับซับวูฟเฟอร์คือประมาณ 20-200 Hz สำหรับ ต่ำกว่า 100 Hz สำหรับมืออาชีพที่ทำการเล่นเสียงสดหรืองานคอนเสิร์ต และต่ำกว่า 80 Hz ในระบบ THX ที่ได้รับการรับรอง ซับวูฟเฟอร์มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่วงความถี่ต่ำของลำโพงที่ครอบคลุมคลื่นความถี่สูงกว่า ถึงแม้ว่าคำว่า “ซับวูฟเฟอร์” ในทางเทคนิคจะหมายถึง ไดรเวอร์ของลำโพงเท่านั้น แต่โดยทั่วไปที่เราใช้พูดและเข้าใจกันมักจะหมายถึง ไดรเวอร์ของซับวูฟเฟอร์ที่ติดตั้งอยู่ในตู้ลำโพง

3. Woofer

วูฟเฟอร์เป็นไดร์เวอร์ที่ให้กำเนิดความถี่ต่ำ ตัวขับทำงานร่วมกับลักษณะของตู้เพื่อผลิตความถี่ต่ำที่เหมาะสม ระบบลำโพงบางตัวใช้วูฟเฟอร์สำหรับความถี่ต่ำสุด โดยบางครั้งวูฟเฟอร์ดีพอที่จะไม่ต้องใช้ซับวูฟเฟอร์เข้ามาช่วยเลยก็ได้ นอกจากนี้ลำโพงบางตัวยังใช้วูฟเฟอร์ในการรับมือกับความถี่ระดับตรงกลาง สามารถทำได้ด้วยการเลือก Tweeter ที่สามารถทำงานได้ต่ำพอสมควรรวมกับวูฟเฟอร์ที่ตอบสนองได้ดีทำให้ไดรเวอร์ทั้งสองสามารถเพิ่มความถี่ในการเชื่อมต่อกันอย่างกลมกลืน

4. Mid-range driver

ลำโพงระดับกลางเป็นไดร์เวอร์ ดอกลำโพงที่ทำย่านความถี่โดยทั่วไประหว่าง 250-2,000 Hz หรือที่เรียกว่า ‘mid’ frequency (ระหว่างวูฟเฟอร์และทวีตเตอร์) จะมีการให้เสียงที่ปกติส่วนมากจะเป็นเสียงร้อง โดยแผ่นไดอะแฟรมไดร์เวอร์สามารถทำจากกระดาษหรือวัสดุผสมและสามารถเป็นไดร์เวอร์การแผ่รังสีโดยตรง (แทนที่จะเป็นวูฟเฟอร์ขนาดเล็ก) หรือสามารถบีบอัดไดร์เวอร์ได้ (เช่นเดียวกับการออกแบบทวีตเตอร์บางตัว)

5. Tweeter

ดอกลำโพงทวีตเตอร์หรือลำโพงเสียงแหลมเป็นลำโพงชนิดพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อให้มีความถี่เสียงสูงโดยปกติจะอยู่ที่ประมาณ 2,000 HZ ถึง 20,000 Hz  โดย Tweeter บางตัวสามารถส่งคลื่นความถี่สูงได้ถึง 100 kHz โดยชื่อ Tweeter นี้ได้มาจากการเปรียบเทียบ เหมือนกับเสียงแหลมสูงของนกบางตัว

6. Coaxial drivers

ดอกลำโพง Coaxial คือลำโพงที่มีไดรฟเวอร์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไปมีตำแหน่งรวมกันจากทั้ง Tweeter และ Mid-Range เพื่อให้เสียงพุ่งออกมาจากจุดเดียวกัน ซึ่งตรงนี้จะเปรียบเสมือนกับการพูดของคนเรา ที่มีเสียงพูดออกมาจากจุดเดียวกัน เพราะจะได้ยินเสียงที่ชัดเจนมากที่สุด ตรงนี้หลายคนก็น่าจะได้เห็นกันบ้างแล้วกับนวัตกรรม Uni-Q ของ KEF

จบกันไปแล้วนะครับ กับประเภทของลำโพง มีกี่ประเภท ดอกลำโพงมีกี่แบบ ซึ่งต้องบอกเลยว่า จุดเด่นของแต่ละแบบก็จะแตกต่างกันออกไปตามการใช้งาน ซึ่งตอบโจทย์ในแต่ละจุด และช่วยเสริมคุณภาพของเสียงออกมาให้ดียิ่งขึ้นควบคู่กันไป สำหรับวันนี้ผมขอลาไปก่อน แล้วพบกันใหม่ในคอนเท้นต่อไปสวัสดีครับ

ขอบคุณข้อมูลดีๆจาก
Cr.Wikipidia
Cr. Acousticfrontiers


Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *