fbpx

ปัจจัยที่ทำให้การวัดระดับเสียงไม่ได้ผล

ปัจจัยที่ทำให้การวัดระดับเสียงไม่ได้ผล

เสียง (sound) คือ พลังงานรูปหนึ่งที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของโมเลกุลของอากาศ ทำให้เกิดการอัดและขยาย สลับกันของโมเลกุลอากาศ ความดันบรรยากาศจึงเกิดการเปลี่ยนแปลงตามการเคลื่อนที่ของโมเลกุลอากาศ เรียกว่า คลื่นเสียง
            เสียง เป็นคลื่นกลที่ใช้อากาศเป็นพาหะ เกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ เมื่อวัตถุสั่นสะเทือน ก็จะทำให้เกิดการอัดตัวและขยายตัวของคลื่นเสียง และถูกส่งผ่านตัวกลาง เช่น อากาศ ไปยังหู แต่เสียงสามารถเดินทางผ่านก๊าซ ของเหลว และของแข็ง แต่ไม่สามารถเดินทางผ่านสุญญากาศเช่น ในอวกาศ ได้ เมื่อการสั่นสะเทือนนั้นมาถึงหูของเรา มันจะถูกแปลงเป็นพัลส์ประสาท ซึ่งจะถูกส่งไปยังสมอง ทำให้เรารับรู้และจำแนกเสียงต่างๆ ได้

            สำหรับ Sound Engineer ซึ่งเป็นผู้มีความเข้าใจในเรื่องของเสียง และมีหน้าที่ในการจัดรูปแบบเสียงให้ออกมาตรงวัตถุประสงค์ของงานไม่ว่าจะเป็นงานภายใน งานภายนอก งานคอนเสิร์ต ละครเวที งานประชุมสัมมนาต่างๆ  ซึ่งในการจัดงานแต่ละครั้งและในสถานที่ที่ต่างกัน อีกหนึ่งสิ่งที่ Sound Engineer จะต้องคำนึงถึงนั่นคือระดับความดังของเสียงเพราะวัตถุประสงค์ของแต่ละงานก็ต่างกัน เช่นงานคอนเสิร์ตที่ต้องการเสียงดังมากๆ เพื่อที่ผู้ชมจะได้ได้ยินเสียง งานในหอประชุม แต่การวัดระดับเสียงของ Sound Engineer ก็มีปัจจัยหลายๆ อย่างที่อาจส่งผลกระทบต่อการวัดเสียงและส่งผลให้การวัดไม่ได้ผลตามที่ต้องการ สำหรับในวันนี้จะขอมาบอกถึงปัจจัยที่ทำให้การวัดระดับเสียงไม่ได้ผล


1 อุณหภูมิ
            สำหรับหลายๆ คนนั้นอาจไม่ทราบว่าอุณหภูมิก็มีส่วนที่ส่งผลต่อการวัดระดับของเสียง เพราะเครื่องวัดมาตรฐานระดับของเสียงนั้นโดยส่วนมากจะได้รับการออกแบบมาให้ใช้กับอุณหภูมิที่อยู่ในช่วง -7 ถึง 66 องศาเซลเซียส ซึ่งการตรวจวัดเสียงนั้นเราจะทำกันที่อุณหภูมิห้องเป็นสำคัญ ดังนั้น ในการนำเครื่องวัดเสียงไปใช้เราก็จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิห้องด้วยว่าว่าเหมาะสมกับเครื่องหรือไม่ ไม่อย่างนั้นแล้วการวัดเสียงในครั้งนั้นๆ ก็จะไม่ค่าที่ไม่มีประสิทธิภาพ

2 ความดันอากาศ

            ความดันอากาศเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการวัดระดับของเสียง เพราะความดันอากาศจะส่งผลกระทบต่อเสียง สำหรับในการวัดระดับเสียงอาจจะต้องมีการปรับค่าความดันอากาศทุกครั้งให้เหมาะสมกับเครื่องวัดระดับเสียงเสมอ ซึ่งโดยทั่วไปถ้าระดับของพื้นที่ ที่จะทำการวัดระดับเสียงนั้น อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน 10,000 ฟุต ก็จะไม่ได้รับผลกระทบจากความดันอากาศ

3  ความชื้น

            ค่าความชื้นที่มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อการวัดระดับของเสียงได้  โดยความชื้นที่มากนั้นอาจกลั่นตัวกลายมาเป็นหยดน้ำ และเมื่อหยดย้ำนั้นไปเกาะที่ไมโครโฟนของเครื่องวัดระดับเสียงแล้วนั้นจะส่งผลให้การวัดค่าเสียงเกิดความผิดเพี้ยนไม่ถูกต้องหรือทำให้เกิดเสียงแทรกได้ ดังนั้นนอกจากจะต้องทำการดูเรื่องความชื้นให้เหมาะสมแล้ว เครื่องวัดระดับเสียงก็จำเป็นจะต้องเป็นเครื่องที่ได้มาตรฐานและสามารถทำงานภายใต้สภาพอากาศที่มีความชื้นสูงได้ดีด้วย

4 ลม

            แน่นอนว่าอุปกรณ์สำหรับที่สำคัญในการวัดระดับเสียงนั้นคือไมโครโฟน และแน่นอนว่าเสียงทุกเสียงโดยรอบนั้นย่อมส่งผลต่อไมโครโฟนทั้งหมด ไม่เว้นแม้แต่เสียงลม ซึ่งเสียงลมนั้นจะให้การอ่านค่าสูงกว่าความเป็นจริง ดังนั้นในการวัดระดับของเสียงจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ไมโครโฟนที่มีคุณภาพและต้องสวมอุปกรณ์เครื่องป้องกันลมให้กับไมโครโฟนด้วย เพื่อที่การวัดระดับเสียงจะได้แสดงค่าที่ถูกต้อง

5 เสียงจากแหล่งอื่น

            ในการวัดระดับเสียงนั้นซึ่งต้องการค่าของความแม่นยำ  เราจึงจำเป็นที่จะต้องป้องกันไม่ให้เสียงจากแหล่งกำเนิดเสียงอื่นๆ แทรกเข้ามาเพราะถ้าหากว่ามีเสียงจากแหล่งกำเนิดอื่นแทรกเข้ามารบกวน ก็จะหมายความว่าในการวัดค่าระดับเสียงที่ได้นั้นย่อมไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้น ในการวัดระดับเสียงจึงจำเป็นต้องอาศัยความเข้าใจและความเชี่ยวชาญที่จะต้องควบคุมเสียงจากแหล่งอื่นๆ หรือ เสียง Background ให้เหมาะสม หรือลบออกไปให้หมด เพื่อให้ได้ค่าเสียงจริงสำหรับนำไปใช้ออกแบบการแก้ไขและควบคุมเสียงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับ Sound Engineer แล้วนั้นปัจจัยทั้ง 5 ที่กล่าวมานั้นย่อมไม่พึงประสงค์อย่างแน่นอนเพราะจะทำงานนั้นยากขึ้น แต่ถ้าหากสมารถขจัดปัญหาสิ่งรบกวนทีทำให้เกิดปัญหาเหล่านี้หมดไป การวัดค่าของระดับเสียงก้จะแม่นยำและทำให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพที่แม่นยำมากขึ้น ซึ่งก็จะเป็นผลดีสำหรับผู้ฟังในกิจกรรมนั้นๆ

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *