fbpx

เลือกลำโพงกลางแจ้งแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

เลือกลำโพงกลางแจ้งแบบไหนให้เหมาะกับการใช้งาน

เครื่องเสียงกลางแจ้งหรือระบบเสียง PA ( Public Address Systems) ซึ่งเป็นระบบที่เรามักจะใช้เพื่อขยายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ เพื่อให้คนส่วนมากได้ยินเสียงที่ชัดเจน สำหรับคนที่กำลังมองหาตู้ลำโพงเพื่อนำไปใช้งานในการขยายเสียงต่าง ๆ เช่น เครื่องขยายเสียงสำหรับห้องประชุม เครื่องขยายเสียงกลางแจ้ง เครื่องขยายเสียงห้องคาราโอเกะ เครื่องขยายเสียงประกาศ หรือเครื่องขยายเสียงสนามกีฬา ในการเลือกตู้ลำโพงนั้นจึงจะต้องมีการพิจารณาหลายๆ สิ่งเป็นตัวประกอบในการช่วยตัดสินใจในการซื้อ ซึ่งการเลือกตู้ลำโพงให้เหมาะสมกับการใช้งานนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากความสำคัญในเรื่องของคุณภาพของเสียงแล้ว การกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน สำหรับในวันนี้ เรามาลองดูกันนะครับว่าว่าตู้ลำโพง PA ที่นิยมใช้งานนั้นมีตู้ลำโพงชนิดไหนกันบ้าง

สำหรับตู้ลำโพงชนิดแรกนั้นเป็นแบบพ้อยซอร์ส (Point source speaker) 

            ซึ่งตู้ลำโพงชนิดนี้นี้เป็นตู้ลำโพงที่มีมุมกระจายเสียงที่กว้าง สามารถกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากโดยใช้ลำโพงแค่ 1 ใบ ให้ความดังที่สูง ตอบสนองความถี่ได้กว้าง เหมาะสำหรับการใช้งานในห้องห้องที่มีขนาดเล็กไปจนถึงของขนาดกลาง สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกและติดตั้งได้ง่าย แต่ด้วยความที่ตู้ลำโพงพ้อยซอร์สมีข้อจำกัดในเรื่องของความดังที่ลดลง -6dB ตามระยะทางที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เท่า ความดังของเสียงจึงลดลงไปอย่างมาก ทำให้ต้องใช้จำนวนลำโพงที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยจำนวนลำโพงที่เพิ่มมากขึ้นนี้เอง ทำให้มีผลในเรื่องของการหักล้างของเฟสเกิดขึ้น (Phase Cancelation) เมื่อเกิดการหักล้างกันของเฟส ทำให้เสียงได้ยินบางย่านความถี่นั้นเบาลง แต่ละพื้นที่นั่งฟังก็จะได้ยินเสียงไม่เหมือนกัน เพราะตู้ลำโพงพ้อยซอร์สนั้นไม่สามารถควบคุมการกระจายเสียงของย่านความถี่เสียงต่ำได้ดีพอ ตู้ลำโพแบบ Point Source นั้นส่วนมากมักจะเป็นทรงตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้าที่มีแนวตั้งมากกว่าแนวนอน มุมกระจายเสียงที่นิยมเลือกใช้คือแนวตั้ง 50องศา แนวนอน 90องศา แต่ด้วยการที่เป็นลำโพงที่ใช้งานง่าย ราคาไม่แพง ให้ความดังสูง ใบเดียวก็สามารถทำงานได้ จึงเป็นที่นิยมเลือกใช้เป็นอันดับแรก แต่จะไม่แนะนำให้ใช้กับห้องที่มีความก้องของเสียงที่สูง

ข้อดีของลำโพงแบบ แบบพ้อยซอร์ส (Point source speaker) 

  • เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก-ขนาดกลาง
  • ใช้ใบเดียวสามารถมีมุมกระจายเสียงที่ครอบคลุมพื้นที่
  • ไม่เหมาะกับห้องที่มีความก้องสูง
  • ติดตั้งง่าย

สำหรับตู้ลำโพงชนิดที่สองเป็นแบบลำโพง Line Array 

คือเป็นลำโพงที่ถูกออกแบบมาตามหลักทฤษฎี Line Source ตู้ลำโพงมีลักษณะเหมือนนำลำโพงหลาย ๆ ใบมาวางเรียงตัวเป็นแนวยาว ซึ่งส่วนมากจะนิยมแขวนบริเวณที่สูง แล้วปรับองศาลำโพงแต่ละใบลงมา หรือติดตั้งบนพื้นแล้วปรับองศาของลำโพงแต่ละใบให้เอียงขึ้น เพื่อกระจายเสียงให้ครอบคลุมพื้นที่ตามต้องการ เราสามารถจำแนกลำโพง Line Array เป็น 2 ชนิดดังนี้

  • Near-Field คือ ลำโพง Line Array สำหรับการกระจายเสียงระยะใกล้ เพื่อให้เสียงครอบคลุมพื้นที่ระยะใกล้บริเวณหน้าเวที
  • Far-Field คือ ลำโพง Line Array สำหรับการกระจายเสียงระยะไกล ซึ่งลำโพงแบบ Far-Field จะถูกกำหนดทิศทางการกระจายเสียงไว้โดยช่างติดตั้ง

ข้อดีของลำโพงแบบ Line Array 

  • เหมาะกับพื้นที่ขนาดกลาง-ขนาดใหญ่
  • ต้องใช้ลำโพงหลายใบต่อกันเพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่
  • ให้ความดังที่สูงและควบคุมความดังแต่ละพื้นที่ได้ดี
  • ราคาต่อใบค่อนข้างสูงและต้องใช้หลายใบ
  • การติดตั้งต้องมีผู้เชี่ยวชาญในการคำนวนองศาการกระจายเสียง

สำหรับตู้ลำโพงชนิดที่สามคือตู้ลำโพงคอลัมน์ (Column Speaker)

            ตู้ลำโพงแบบตคอลัมน์ (Column Speaker)  ถูกออกแบบมาตามหลักทฤษฎีเหมือนกับตู้ลำโพง Line Array แต่การใช้งานให้ง่ายเหมือนตู้ลำโพงพ้อยซอร์ส ตู้ลำโพงแบบคอลัมน์นั้นในปัจจุบันนั้นให้ความดังที่สูงและมีมุมกระจายเสียงที่กว้าง ควบคุมการกระจายเสียงของย่านความถี่ต่ำได้ดี แต่ก็มีเรื่องของความดังที่ลดลง -6dB ตามระยะทางที่เพิ่มขึ้น 1 เท่าเหมือนตู้ลำโพงพ้อยซอร์ส จึงเหมาะกับห้องขนาดเล็กไปจนถึงขนาดกลางที่มีเพดานไม่สูงมาก และมีความก้องสูง จะให้ความชัดเจนของเสียงที่ดีกว่าตู้ลำโพง Point Source ทั่วไป

ข้อดีของลำโพงแบบ Column

  • เหมาะกับพื้นขนาดเล็ก-ขนาดกลาง
  • ติดตั้งง่าย
  • มีมุมกระจายเสียงที่กว้างครอบคลุมพื้นที่
  • สามารถติดตั้งใช้งานในห้องที่มีเสียงก้องได้ดี

            สำหรับลำโพงทั้ง 3 ชนิดนี้ถือว่าเป็นตู้ลำโพงที่นิยมใช้กันในเครื่องเสียงกลางแจ้ง ไม่ว่าจะเป็นงานเล็ก ไปจนถึงงานขนาดใหญ่ ซึ่งในลักษณะของการทำงานนั้นก็แตกต่างกัน ดังนั้นเราจึงต้องเลือกรูปแบบชนิดของลำโพงที่จะนำไปใช้ให้ถูกกับลักษณะของงาน เพราะเมื่อเราใช้ลำโพงให้ถูกกับลักษณะของพื้นที่และจำนวนผู้ฟัง ก็จะช่วยเป็นการประหยักต้นทุนของค่าใช้จ่าย

Share this post

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *