ว่ากันด้วยเรื่องย่านความถี่เสียง?
ว่าด้วยเรื่องของการปรับย่านความถี่เสียง แล้วหลายคนคงจะงงแล้วก็สงสัยใช่ไหมล่ะครับว่าควรจะปรับย่านความถี่แต่ละย่านเท่าไหร่ถึงจะทำให้เข้ากับงานของเรา ถ้าไม่ใช่ Sound engineer เราก็คงจะงงกันใช่ไหมล่ะครับวันนี้เราเลยมีเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาฝากท่านเกี่ยวกับเรื่องของย่านความถี่แต่ละช่วงมาให้ท่านดูกันจะมีอะไรบ้างเราไปดูกัน
ย่านความถี่เสียงปกติแล้วเราก็จะรู้จักกันดีว่าจะมี ย่านเสียงสูง ย่านเสียงกลาง ย่านเสียงต่ำ เป็นปกติที่เราได้ยินกันอยู่แล้วแต่ว่าย่านความถี่เสียงสามารถแบ่งออกไปได้ลึกกว่านี้อีก โดยสามารถแบ่งได้ดังนี้
Deep Low/Deep Bass
จะอยู่ในช่วงความถี่ 20 Hz – 60 Hz โดยช่วงความถี่นี้จะควบคุมพวกเสียงกระหึ่ม,เสียงของการสั่นสะเทือน โดยช่วงความถี่เสียงที่ย่านนี้ถูกผลิตออกมา จะมาจากพวกลำโพงซับวูฟเฟอร์ซะส่วนใหญ่
Low
จะอยู่ในช่วงความถี่ 60 Hz – 250 Hz ย่านความถี่นี้ควบคุมความเต็มแน่น ของเสียงซึ่งย่านนี้จะเป็นความถี่ต่ำสุดของงานมิกซ์เสียง ซึ่งจะเป็นความความถี่ของ เบสและกระเดื่องหรือ Kick Drum
Mid-Low
จะอยู่ในช่วงความถี่ 250 Hz – 500 Hz เป็นย่านที่ควบคุมความถี่ในย่านเบส โดยในช่วง 300 Hz จะมีผลในเรื่องของความชัดเจนของเสียงความถี่ต่ำ และในช่วง 500 Hz จะมีผลในเรื่องของเสียงอู้หากปรับเยอะเกินไปจะทำให้เสียงดูอู้ไม่เป็นธรรมชาติ โดยมักจะนิยมลดช่วงความถี่นี้ในเครื่องดนตรีประเภท (Mid-range) เช่น กีตาร์, เสียงร้อง และ คีย์บอร์ด
Mid
จะอยู่ในช่วงความถี่ 500 Hz – 2,000 Hz เป็นย่านความถี่ที่จะกำหนดเรื่องความโดดเด่น ความชัดเจน ของเครื่องดนตรี ในการมิกซ์เสียงและสำคัญมากสำหรับเสียงพูดเพราะถ้าหากปรับความถี่ในย่านนี้มากเกินไปจะทำให้ผู้ฟังล้าหูได้เมื่อฟังไปนานๆ
Mid-High
จะอยู่ในช่วงความถี่ 2,000 Hz – 4,000 Hz ในช่วงย่านความถี่ที่สำคัญสำหรับพวกเสียงพูด เสียงร้องแล้วก็พวกเครื่องดนตรีในประเภท Mid-range ซึ่งเป็นย่านที่มีความสำคัญ กับพวกเสียงพูด และเสียงร้อง เป็นย่านที่หูคนเราสามารถตอบสนองกับย่านนี้ได้ดีมาก
Presence
จะอยู่ในช่วงความถี่ 4,000 Hz – 6,000 Hz เป็นย่านที่ส่งผลโดยร่วมเกี่ยวกับความชัดเจนของซาวด์โดยรวม การควบคุมความระยะใกล้-ไกล และ ความชัดเจน ของเครื่องดนตรี และ เสียงร้อง
High
จะอยู่ในช่วงความถี่ 6,000 Hz – 20,000 Hz ความถี่ในย่านนี้จะสัมพันธ์สอดคล้องกับ ความใส ความชัดเจน เสียงฉ่า ของซาวด์มิกซ์ ซึ่งจะเป็นช่วงสุดท้ายของย่านความถี่ปลายแหลม
(ขอขอบคุณข้อมูลจาก Sounddd.com, millionheadpro.com)
เป็นอย่างไรกันบ้างละครับเกร็ดความรู้ที่เรานำมาฝากในวันนี้กัน บอกเลยไว้ว่าในเรื่องของการอ่านค่าความถี่นั้นยังมีอะไรให้เราศึกษาอีกเยอะเลยครับเลยครับผมซึ่งเกร็ดความรู้ที่เรานำมาฝากในวันนี้ก็เป็นความรู้พื้นฐานให้กันทุกท่านได้นำไปใช้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับผม
แต่ถ้าหากท่านใดรู้สึกว่าถ้ารู้ความสำคัญแต่ละช่วงความถี่แล้วแต่เราจะวัดกันยังไงละเอาละครับไม่ต้องตกใจไปเรามีสินค้า เครื่องวิเคราะห์สัญญาณเสียงมาแนะนำให้กับทุกท่านครับกับ Paa3x เครื่องวิเคราะห์เสียงแบบพกพาจาก Phonic ใช้งานง่ายไม่ยุ่งยาก สามารถอ่านค่าได้ทั้ง dB, SPL, dBu, dBV และแรงดันไฟฟ้า จะวัดความดังก็ได้ ความถี่ก็ดี แบตเตอรี่ใช้ได้ยาวนาน อย่างน้อย 3 ชั่วโมง พกพาสะดวกมาพร้อมกระเป๋าหนังด้วย สำหรับใครที่สนใจเจ้าตัวนี้ก็สามารถมาลองจับลองใช้งานเจ้าตัวนี้ไปที่บริษัท Sound republic หรือร้านตัวแทนจำหน่ายทั่วประเทศได้เลยนะครับผม
คราวหน้าเราจะนำเกร็ดความรู้ดีๆมีประโยชน์อะไรมาฝากทุกท่านอีกก็ติดตามเราได้เลยครับผม สำหรับวันนี้เรา Sound republic ขอลาไปก่อน สวัสดีครับ
Comment (1)
[…] https://sound-republic.com/articles/frequency/ (ขอขอบคุณข้อมูลจาก […]